วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ใบงานที่ 3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

1. จงอธิบายความหมายของเครือข่ายมาพอเข้าใจ   
ตอบ
     การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า โฮสต์ (Host) และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า ไคลเอนต์ (Client)ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก ซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจเป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้ใช้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญ และจำเป็นต่อการใช้งานในแวดวงต่างๆ

2. จงอธิบายความหมายคำว่าอินเตอร์เน็ต     
ตอบ 
   อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุดอินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร   เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ

3. จงเขียนอธิบายรูปแบบการเชื่อมต่อดังนี้


3.1 แบบดาว


3.2 แบบวงแหวน



3.3 แบบบัส



3.4 แบบทรีหรือแบบต้นไม้




4. จงสรุปว่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย
มีอะไรบ้างพร้อมให้นิยามความหมายมาพอเข้าใจ


1.โมเด็ม (Modem)
   โมเด็มเป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เมื่อข้อมูลถูกส่งมายังผู้รับละแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นแอนะล็อก เมื่อต้องการส่งข้อมูลไปบนช่องสื่อสาร  กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก เรียกว่า มอดูเลชัน (Modulation) โมเด็มทำหน้าที่ มอดูเลเตอร์ (Modulator) กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เรียกว่า ดีมอดูเลชัน (Demodulation) โมเด็มหน้าที่ ดีมอดูเลเตอร์ (Demodulator)โมเด็มที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันมี 2 ประเภทโมเด็กในปัจจุบันทำงานเป็นทั้งโมเด็มและ เครื่องโทรสาร เราเรียกว่า Faxmodem


2. การ์ดเครือข่าย (Network  Adapter) หรือ การ์ด LAN
   เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเครื่องต่างกันได้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นหรือยี่ห้อเดียวกันแต่หากซื้อพร้อมๆกันก็แนะนำให้ซื้อรุ่นและยีห้อเดียวกันจะดีกว่า
และควรเป็น การ์ดแบบ PCI เพราะสามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบ ISAและเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆมักจะไม่มี Slot  ISA ควรเป็นการ์ดที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps
ซึ่งจะมีราคามากกว่าการ์ดแบบ 10 Mbps ไม่มากนัก แต่ส่งขอมูลได้เร็วกว่า นอกจากนี้คุณควรคำหนึงถึงขั้วต่อหรือคอนเน็กเตอร์ของการ์ดด้วยโดยทั่วไปคอนเน็กเตอร์ ของการ์ด LAN จะมีหลายแบบ เช่น BNC , RJ-45 เป็นต้น ซึ่งคอนเน็กเตอร์แต่ละแบบก็จะใช้สายที่แตกต่างกัน



3. เกตเวย์ (Gateway)   เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์หน้าที่หลักคือช่วยให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์  2 เครือข่ายหรือมากกว่า ซึ่งมีลักษณะไม่เหมือนกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้เหมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน


4. เราเตอร์ (Router)   เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือข่ายที่มีขนาดหรือมาตรฐานในการส่งข้อมูลต่างกัน สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล
ระหว่างกันได้ เราเตอร์จะทำงานอยู่ชั้น Network หน้าที่ของเราเตอร์ก็คือ ปรับโปรโตคอล (Protocol) (โปรโตคอลเป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์) ที่ต่างกันให้สามารถสื่อสารกันได้




5. บริดจ์ (Bridge) บริดจ์มีลักษณะคล้ายเครื่องขยายสัญญาณ บริดจ์จะทำงานอยู่ในชั้น Data Link บริดจ์ทำงานคล้ายเครื่องตรวจตำแหน่งของข้อมูล โดยบริดจ์จะรับข้อมูล จากต้นทางและส่งให้กับปลายทาง โดยที่บริดจ์จะไม่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงใดๆแก่ข้อมูล  บริดจ์ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายมีประสิทธิภาพลดการชนกัน ของข้อมูลลง บริดจ์จึงเป็นสะพานสำหรับข้อมูลสองเครือข่าย


6. รีพีตเตอร์ (Repeater)
   รีพีตเตอร์ เป็นเครื่องทบทวนสัญญาณข้อมูลในการส่งสัญญาณข้อมูลในระยะทางไกลๆสำหรับสัญญาณแอนะล็อกจะต้องมีการขยายสัญญาณข้อมูลที่
ี่เริ่มเบาบางลงเนื่องจากระยะทาง และสำหรับสัญญาณดิจิตัลก็จะต้องมีการทบทวนสัญญาณเพื่อป้องกันการขาดหายของสัญญาณเนื่องจากการส่งระยะทางไกลๆ
เช่นกัน รีพีตเตอร์จะทำงานอยู่ในชั้น Physical

7.  สายสัญญาณ   เป็นสายสำหรับเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆในระบบเข้าด้วยกัน หากเป็นระบบที่มีจำนวนเครื่องมากกว่า 2 เครื่องก็จะต้องต่อผ่านฮับอีกทีหนึ่ง โดยสายสัญญาณสำหรับเชื่อมต่อเครื่องในระบบเครือข่าย จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ


-     สาย Coax  มีลักษณะเป็นสายกลม  คล้ายสายโทรทัศน์  ส่วนมากจะเป็นสีดำสายชนิดนี้จะใช้กับการ์ด LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ BNC สามารถส่งสัญญาณได้ไกลประมาณ 200 เมตร  สายประเภทนี้จะต้องใช้ตัว T Connector สำหรับเชื่อมต่อสายสัญญาณกับการ์ด LAN ต่างๆในระบบ และต้องใช้ตัว Terminator ขนาด 50 โอห์ม  สำหรับปิดหัวและท้ายของสาย




-     สาย UTP (Unshied  Twisted  Pair)  เป็นสายสำหรับการ์ด  LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ RJ-45  สามารถส่งสัญญาณได้ไกล
ประมาณ 100 เมตร หากคุณใข้สายแบบนี้จะต้องเลือกประเภทของสายอีก โดยทั่วไปนิยมใช้กัน 2 รุ่น  คือ  CAT 3 กับ CAT5 ซึ่งแบบ CAT3 จะมีความเร็วในการส่งสัญญาณ10 Mbps และแบบ CAT 5 จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 100 Mbps แนะนำว่าควรเลือกแบบ CAT 5 เพื่อการอัพเกรดในภายหลังจะได้ไม่ต้องเดินสายใหม่  ในการใช้งานสายนี้  สาย 1 เส้นจะต้องใช้ตัว RJ - 45 Connector จำนวน 2 ตัว  เพื่อเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างสายสัญญาณจากการ์ด LAN ไปยังฮับหรือเครื่องอื่น เช่นเดียวกับสายโทรศัพท์ ในกรณีเป็นการเชื่อมต่อเครื่อง 2 เครื่องสามารถใช้ต่อผ่านสายเพียงเส้นเดียได้แต่ถ้ามากกว่า 2 เครื่อง ก็จำเป็นต้องต่อผ่านฮับ


 8.  ฮับ (HUB) 
   เป็นอุปกรณ์ช่วยกระจ่ายสัญญาณไปยังเครื่องต่างๆที่อยู่ในระบบ หากเป็นระบบเครือข่ายที่มี 2 เครื่องก็ไม่จำเป็นต้องใช้ฮับสามารถใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อ ถึงกันได้โดยตรง  แต่หากเป็นระบบที่มีมากกว่า 2 เครื่องจำเป็นต้องมีฮับเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ในการเลือกซื้อฮับควรเลือกฮับที่มีความเร็วเท่ากับความเร็ว ของการ์ด เช่น  การ์ดมีความเร็ว  100 Mbps ก็ควรเลือกใช้ฮับที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps ด้วย ควรเป็นฮับที่มีจำนวนพอร์ตสำหรับต่อสายที่เพียงพอกับ เครื่องใช้ในระบบ  หากจำนวนพอร์ตต่อสายไม่เพียงพอก็สามารถต่อพ่วงได้  แนะนำว่าควรเลือกซื้อฮับที่สามารถต่อพ่วงได้  เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต



5. จงอธิบายความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้มาพอเข้าใจ
5.1 LAN


   LAN (Local Area Network)
เป็นลักษณะการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันภายในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน เครือข่าย LAN ออกแบบมาเพื่อให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน


5.2 WAN

  (Wide Area Network)
-ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ เป็นระบบเน็ตเวิร์กที่มีการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ
เครือข่าย WAN เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกันในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็นหลาย ๆ กิโลเมตร


5.3 Frame Relay

  เป็นการออกแบบสื่อสารโทรคมนาคมสำหรับประสิทธิภาพต้นทุนการส่งผ่านสำหรับการจราจรเป็นช่วงระหว่างเครือข่ายพื้นที่ท้องถิ่น

5.4 Ethernet
  คือ เป็นเทคโนโลยีสำหรับเครือข่ายแบบแลน ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน


5.5 Internet
   คือ คำย่อของคำว่า internetwork เป็นระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์เครือข่ายหนึ่ง ซึ่งติดต่อเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายใหญ่ด้วย gateway ทำให้สามารถส่งผ่านข้อมูลสารสนเทศ และข่าวสารถึงกันได้อย่างกว้างขวาง

5.6 Protocol
  ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ หรือภาษาสื่อสารที่ใช้เป็น ภาษากลางในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน 

5.7 Fiber optic 

  Fiber Optic คือ สายสัญญาณของระบบเครือข่ายอีกชนิดหนึ่ง ที่มีความสามารถในการรับ-ส่งสัญญาณได้ไกลๆ เป็นกิโลเมตร และมีการสูญเสียของสัญญาณน้อยมาก เมื่อเทียบกับสายแลนทั่วๆ ไป

5.8 ATM

  Asynchronous Transfer Mode ซึ่งภายใต้การส่งข้อมูล แบบATM นี้ ข้อมูลหลายๆ ประเภท (ตัวอย่างเช่น เสียง ภาพ หรือตัวอักษร และตัวเลข) จะถูกส่งไปในรูปของ หน่วยข้อมูลที่เรียกว่าCells ที่มีความยาว คงที่ตลอด 

5.9 VPN

  Virtual Private Network เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อเครือข่ายนอกอาคาร (WAN - Wide Area Network) เป็นระบบเครือข่ายภายในองค์กร ซึ่งเชื่อมเครือข่ายในแต่ละสาขาเข้าด้วยกัน โดยอาศัย Internet เป็นตัวกลาง มีการทำ Tunneling หรือการสร้างอุโมงค์เสมือนไว้รับส่งข้อมูล มีระบบเข้ารหัสป้องกันการลักลอบใช้ข้อมูล เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ซึ่งต้องการความคล่องตัวในการติดต่อรับส่งข้อมูลระหว่างสาขา
มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับ Private Network


6. จงเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับระบบเครือข่ายมา 20
คำพร้อมอธิบายความหมายและคำอ่านภาษาอังกฤ

1) E-mail : Electronic Mail   คือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  หมายถึง วิธีการหนึ่งของการแลกเปลี่ยนข้อความแบบดิจิทัล ซึ่งออกแบบขึ้นเพื่อให้มนุษย์ใช้เป็นหลัก ข้อความนั้นจะต้องประกอบด้วยเนื้อหา ที่อยู่ของผู้ส่ง และที่อยู่ของผู้รับ (ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่ง) เป็นอย่างน้อย 

2) Repeater หมายถึง อุปกรณ์ระบบเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมต่อสายเคเบิล 2 เส้นเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่ม ระยะทางการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย

3) Bridge  บริดจ์ เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายของเครือข่ายที่แยกจากกัน บริดจ์เป็น
เสมือนตัวแบ่งแยกข้อมูลระหว่างเครือข่ายให้มีการสื่อสารภายในเครือข่ายของตน ไม่ปะปนไปยังอีก
เครือข่ายหนึ่ง เพื่อลดปัญหาปริมาณข้อมูลกระจายในสายสื่อสารมากเกินไป

4) Base band  เป็นการใช้ช่องทางการสื่อสารเพียงช่องทางเดียวสำหรับการส่งสัญญาณดิจิทัลในแต่ละครั้งในช่วงเวลาหนึ่ง โดยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มักใช้การส่งสัญญาณชนิดนี้ เนื่องจากเป็นวิธีการที่ไม่ซับซ้อนและสามารถจัดการควบคุมง่าย

5) Cellular Radio คือ คลื่นวิทยุ เป็นลักษณะของระบบสื่อสารวิทยุ เป็นสื่อกลางการสื่อสารแบบไร้สายที่สามารถแพร่ได้บนระยะทางไกล เช่น ระหว่างเมืองหรือระหว่างประเทศ และยังไม่รวมถึงการแพร่บนระยะทางสั้นๆ อย่างไรก็ตาม คลื่นวิทยุนั้นมีความเร็วค่อนข้างต่ า อีกทั้งไวต่อสัญญาณรบกวน แต่ข้อดีคือมีความยืดหยุ่นสูง สะดวกต่อการใช้งาน และผู้ใช้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

6) Bluetooth   ลักษณะของบลูทูธเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ เกิดขึ้นประมาณปี ค.ศ. 1998 ใช้ความถี่ใน
การส่งสัญญาณข้อมูล 2.5 GHz. สื่อสารได้ในระยะทางไม่เกิน 10 เมตร สื่อสารระหว่างอุปกรณ์หลาย ๆ 
อุปกรณ์ได้

7) Infrared  ลักษณะของแสงอินฟราเรดเป็นคลื่นความถี่สั้น ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับคลื่นไมโครเวฟ
ตรงที่การส่งสัญญาณเป็นแนวเส้นตรงในระดับสายตาเหมือนกัน คลื่นอินฟราเรดนิยมน ามาใช้งานส าหรับการสื่อสารระยะใกล้ โดยมีอุปกรณ์หลายชิ้นในปัจจุบัน เช่น รีโมตคอนโทรล คอมพิวเตอร์ และรวมถึง
อุปกรณ์อื่นๆ เช่น เครื่องพิมพ์ เมาส์ และกล้องดิจิทัล ซึ่งจะมีพอร์ต IrDA  ที่ใช้ส าหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่สื่อสารด้วยคลื่นอินฟราเรด

8) ATM
Asynchronous Transfer Mode ซึ่งภายใต้การส่งข้อมูล แบบ ATM นี้ ข้อมูลหลายๆ ประเภท (ตัวอย่างเช่น เสียง ภาพ หรือตัวอักษร และตัวเลข) จะถูกส่งไปในรูปของ หน่วยข้อมูลที่เรียกว่า Cells ที่มีความยาว คงที่ตลอด (แทนที่จะ ถูกส่งในลักษณะของ "กลุ่ม" ข้อมูล (packets) ที่มีความยาว หลากหลายไม่คงที่ ซึ่งใช้กันใน เทคโนโลยีเช่น Ethernet และ Fiber Distributed Data Interface หรือที่เรียกว่า FDDI)

9) DOWNLOAD
การส่งผ่านข้อมูล เช่น ไฟล์ภาพ, ไฟล์ภาพยนตร์, ไฟล์เสียงเพลง จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา

10) ETHERNET
อีเธอร์เน็ต เป็นเทคโนโลยี ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) ที่เป็นที่นิยมมากที่สุด โดยใช้โปรโตคอล CSMA/CD (ตรวจสอบการชนกัน ของข้อมูล) ในการส่งกลุ่มข้อมูล (packets) ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และสามารถส่งข้อมูล ผ่านสายเคเบิล ได้หลายประเภท ที่ความเร็วข้อมูล 10 ล้านบิตต่อวินาที เป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อคือ 10BASE-T

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ใบงานที่ 3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

ใบงานที่  3   เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์


1.คอมพิวเตอร์คืออะไร

  ตอบ   

คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการทำงานแบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อนตามคำสั่งของโปรแกรม มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์" ขั้นตอนการทำงานจะประกอบด้วย การรับโปรแกรมและข้อมูลในรูปแบบที่เครื่องสามารถรับได้ แล้วทำการคำนวณ เคลื่อนย้ายเปรียบเทียบ จนกระทั่งได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ


2ให้นักเรียนวาดรูปแสดงวงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์มาให้ สมบูรณ์ที่สุด




3.คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง


ตอบ

  • ความเร็ว (Speed) คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ถึงร้อยล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที

  • ความเชื่อถือได้ (Reliable) คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ทั้งกลางวันและกลางคืนอย่างไม่มีข้อผิดพลาด และไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย

  • ความถูกต้องแม่นยำ (Accurate) วงจรในคอมพิวเตอร์จะให้ผลการคำนวณที่ถูกต้องเสมอ

  • เก็บข้อมูลจำนวนมากๆ ได้ (Store massive amount of information) ไมโครคอมพิวเตอร์จะมีที่เก็บข้อมูลสำรองที่มีความจุมากกว่าหนึ่งพันล้านตัวอักษร และ ระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่จะสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งล้านๆ ตัวอักษร

  • ย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว (Move information) โดยใช้การติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถส่งข้อมูลในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่คนละซีกโลกได้ในเวลาเพียงไม่ถึงนาที ทำให้มีการเรียกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันทั่วโลกในปัจจุบันว่า ทางด่วนสารสนเทศ

4คอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง


ตอบ   มี 6 ประเภท คือ

1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)
2.คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่





3.เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (server computer)




4.ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer)ดังนี้ อียด




5.คอมพิวเตอร์แบบฝัง (embedded computer )



6.มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (minicomputer)เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่า เมนเฟรมแต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ และสามารถรองรับการทำงาน จากผู้ใช้ได้หลายคนในการทำงาน ที่แตกต่างกัน จากจุดเริ่มต้นใน การพัฒนา ที่ต้องการให้ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำงานเฉพาะอย่าง เช่น การคำนวณทางด้านวิศวกรรม ทำให้การพัฒนามินิคอมพิวเตอร์ เจริญอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันธุรกิจและองค์การหลายประเภทนิยมนำ มินิคอมพิวเตอร์มา ใช้ในการให้บริการข้อมูลแก่ลูกค้า เช่น การจองห้องพักของโรงแรม การทำงานด้านบัญชีขององค์การธุรกิจ เป็นต้น




5.งานด้านวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมควรเลือกใช้คอมพิวเตอร์ประเภทใดเพราะอะไรจึงเลือกใช้คอมพิเตอร์ประเภทนั้น

   
  ตอบ ควรเลือกใช้ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) เพราะ เป็นคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงและ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับงานคำนวณที่ต้องมีการคำนวณตัวเลขจำนวนหลายลานตัวภายในเวลาอันรวดเร็ว เช่น งานพยากรณ์อากาศ ที่ต้องนำข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับอากาศทัง้ ระดับภาคพื้นดิน และระดับชั้น บรรยากาศเพื่อดูการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของอากาศ หรืองานด้านการควบคุมขีปนาวุธ งานควบคุมทางอากาศ งานประมวลผลภาพทางการแพทย์ งานด้านวิทยาศาสตร์ และงานด้านวิศวกรรมการออกแบบ



6.ระบบจ้องห้องพักของโรงแรมควรเลือกใช้คอมพิวเตอร์ประเภทใดเพราะเหตุใดถึงเลือกใช้คอมพิวเตอรประเภทนั้น

    ตอบ มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (minicomputer)
เพราะเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่า เมนเฟรมแต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ และสามารถรองรับการทำงาน จากผู้ใช้ได้หลายคนในการทำงาน ที่แตกต่างกัน จากจุดเริ่มต้นใน การพัฒนา ที่ต้องการให้ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำงานเฉพาะอย่าง



7.ระบบงานธนาคารควรเลือกใช้รคอมพิวเตอร์ประเภทใด เพราะเหตุใดถึงเลือกใช้คอมพิวเตอรประเภทนั้น

  ตอบ     ควรเลือกใช้ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)เพราะ มีขนาดใหญ่ ประสิทธิภาพสูง มีความเร็วในการทำงานและมีหน่วยความจำสูงมาก เหมาะกับหน่วยงานขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร เป็นต้น



8.คอมพิวเตอร์พกพาหรือโน๊ตบุ๊คจัดจัดอยู่ในเครื่องคอมประเภทใด


    ตอบ
         ไมโครคอมพิวเตอร์(microcomputer)

9.องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยกี่ด้าน ได้แก่อะไรบ้าง

ตอบ
 
      คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2. ซอฟต์แวร์ (Software
3. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information)
4. บุคคลากร (Peopleware)
5. กระบวนการทำงาน (Documentation/Procedure



10.ให้นักเรียนแต่ละคนวาดรูปแสดงขั้นตอนของสารสนเทศ








11.ให้นักเรียนแต่ละคนบอกถึงประโยชน์และวิธีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียน



      1)ช่วยให้การเรียน การทำงาน ทันสมัยและไรับความสะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น ได้เรียนรู้จากสื่อที่ทันสมัยที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์      2)เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ดีเยี่ยม ช่วยในการค้นคว้าหาความรู้เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนเพื่อหาความรู้ในการเรียนการค้นคว้าหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง



12.ให้นักเรียนเสนอความคิดเห็นว่าคอมพิวเตอร์มีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์หรือไม่และนักเรียนคิดว่ามีความจำเป็นที่ต้องเรียนคอมพิวเตอร์หรือไม่

ตอบ   มีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน
        คิดว่ามีความจำเป็นเพราะ

           1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจและรู้ถึงประโยชน์ในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในงานด้านต่างๆ           2. เพื่อให้ผู้เรียนใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบการทำงานด้านต่าง ๆ ได้           3. ผู้เรียนเข้าใจได้ว่าแต่ละงานหรืออาชีพต่าง ๆ มีความจำเป็นอย่างไรในการนำคอมพิวเตอร์เข้า    มาช่วยในการทำงาน

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ใบงานที่1

ตอนที่ 1จงอธิบายคำถามต่อไปนี้
1.จงยกตัวอย่างระบบสารสนเทศที่นักเรียนพบเห็นในชีวิตประจำวันมาอย่างน้อย 5 ระบบ
ตอบ
        1. ระบบสารสนเทศสำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน
      2. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ชำนาญการ
      3.ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
      4. ระบบสารสนเทศระดับกลยุทธ์
      5.ระบบประมวลผลรายการ
  

2.เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไรเราสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารเทศได้อย่างไรบ้าง  จงยกตัวอย่างพร้อมอธิบาย
ตอบ
       หมายถึง เทคโนโลยีในการประมวลผลสารสนเทศ (คำว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว) ซึ่งก็คือเทคนิควิธีการต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการข้อมูล (ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล) เช่น การจัดเก็บข้อมูล การสื่อสารข้อมูล การสืบค้นข้อมูล การแสดงผลข้อมูล เป็นต้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การจัดการข้อมูล เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว และง่ายดายยิ่งขึ้น ส่งผลต่อการพัฒนาและความก้าวหน้าต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเรา
    
       ประโยชน์คีอ 
        1.ใช้ในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลจำนวนมากได้รับการบันทึกไว้ในรูปแบบที่ให้เครื่องจักรอ่านได้ เช่น อยู่ในแถบบันทึก แผ่นบันทึก แผ่นซีดีรอม ดังจะเห็นเอกสารหรือหนังสือ หรือสารานุกรมบรรจุในแผ่นซีดีรอม หนังสือทั้งตู้อาจเก็บในแผ่นซีดีรอมเพียงแผ่นเดียว
        2.สามารถจัดการสารสนเทศเหล่านั้นในลักษณะเชิงระบบ เช่น ระบบทะเบียนราษฎร์ มีการใช้เลขประจำตัวประชาชน ซึ่งเป็นเลขรหัส 13 ตัว แต่ละตัวจะมีความหมายเพื่อใช้ในการตรวจสอบ เช่น แบ่งตามประเภท ตามถิ่นที่อยู่ การเข้ารับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลก็ต้องมีการลงทะเบียน การสร้างเวชระเบียน ระบบเสียภาษีก็มีการสร้างรหัสประจำตัวผู้เสียภาษี นอกจากนี้มีการจดทะเบียนรถยนต์ ทะเบียนการค้า ทะเบียนโรงงาน ฯลฯ
        3.สามารถจ่ายเงินซื้อสินค้าด้วยบัตรเครดิตหรือเช่นการ   เบิกเงินด้วยบัตรเอทีเอ็ม


3.องค์ประกอบของระบบสารสนเทศมีกี่ส่วน อะไรบ้าง
ตอบ
     มี 5 ส่วน ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล บุคลากร และขั้นตอนการปฏิบัติงาน ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
ข้อมูล เป็นส่วนที่จะนำไปจัดเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์
บุคลากรเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน เป็นสิ่งที่จะต้องเข้าใจเพื่อให้ทำงานได้ถูกต้องเป็นระบบ

   
4.จงอธิบายการประมวลผลแบบกลุ่ม และ แบบเชื่อมตรง
ตอบ
      การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch processing)จะเป็นวิธีการประมวลผลที่ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในแต่ละช่วงเวลาไว้ จนกว่าจะมีข้อมูลที่ประมวลผลจำนวนหนึ่ง จึงทำการประมวลผลพร้อมกัน หรืออาจรอจนกว่าครบตามเวลาที่กำหนด จึงทำการประมวลผลไม่ว่าจะมีจำนวนเท่าใดก็ตาม เช่น เวลาเข้าออกของพนักงานอาจจะพิมพ์เก็บไว้ทุกสัปดาห์ และนำมาประมวลผลเดือนละครั้งเท่านั้น

      การประมวลผลแบบเชื่อมตรง หมายถึง การประมวลผลที่ทำโดยอุปกรณ์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าอุปกรณ์นั้นจะเป็นส่วนหนึ่งของตัวเครื่อง (เช่นเครื่องอ่านบัตร) หรืออุปกรณ์นั้นจะอยู่ห่างออกไปแต่สามารถติดต่อโดยตรงกับเครื่องได้ เช่น การประมวลผลโดยมีการสื่อสารระหว่างเครื่องปลายทางหรือเทอร์มินัล (terminal) และหน่วยประมวลผลกลางโดยทางโทรศัพท์ หรือวิธีอื่น ๆ การทำเช่นนี้เครื่องจะประมวลผลทันทีที่ได้รับข้อมูล ซึ่งจะเข้าสู่ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา เช่น ที่ใช้ในการส่งยานอากาศไปนอกโลก การถอนเงินในระบบเงินด่วน เป็นต้น ดู batch processing เปรียบเทียบ
  
5.ประโยชน์ของ Geographic Information System มีอะไรบ้าง
ตอบ  
การใช้งานระบบสารสนเทศจะมีประโยชน์มากในการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ ถ้ารู้จักการใช้งาน การใช้งานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะต้องมีเป้าหมายชัดเจน รู้จักคัดเลือกข้อมูลมาวิเคราะห์ การใช้งานจะต้องวางแผนงานในการกำหนดคุณภาพ มาตราส่วนของข้อมูลและที่สำคัญคือ ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยตลอดเวลา การบูรณาการข้อมูลหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน และสามารถสร้างแบบจำลองทดสอบเปรียบเทียบข้อมูลก่อนที่มีการลงมือปฏิบัติจริง การใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่สำคัญได้แก่
     1. ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การกำหนดพื้นที่ป่าไม้ แหล่งน้ำ ทั้งบนผิวดินและใต้ดิน ธรณีวิทยาหินและแร่ ชายฝั่งทะเลและภูมิอากาศ
    2. ด้านการจัดการทรัพยากรเกษตร เช่น การแบ่งชั้นคุณภาพพื้นที่เกษตร ดินเค็มและดินปัญหาอื่น ความเหมาะสมของพืชในแต่ละพื้นที่ การจัดระบบน้ำชลประทาน การจัดการด้านธาตุอาหารพืช
 
6. ให้นักเรียนยกตัวอย่างระบบสารสนเทศระดับต่างๆ มาอย่างน้อยระดับละ 1ตัวอย่าง

ตอบ 
   - ระดับสูง
          ระบบสารสนเทศในระดับนี้ต้องออกแบบให้ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน ไม่มีความซับซ้อนหรือยุ่งยาก แสดงผลทางด้านกราฟฟิคบ้าง ต้องตอบสนองที่รวดเร็วและทันท่วงทีด้วยเช่นกัน
        

- ระดับกลาง
        เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ใช้งานระดับการบริหารและจัดการองค์กร ซึ่งมีหน้าที่รับนโยบายมาจากผู้บริหารระดับสูง ระบบสารสนเทศจึงต้องมีการจัดอันดับทางเลือกแบบต่างๆไว้ โดยเลือกใช้ค่าทางสถิติช่วยพยากรณ์หรือทำนายทิศทางไว้ด้วย หากระดับของการตัดสินใจนั้นมีความซับซ้อนหรือยุ่งยากมากเกินไป

-ระดับการปฏิบัติ 
         ผู้ใช้กลุ่มนี้จะเกี่ยวข้องกับการผลิตหรือการปฏิบัติงานหลักขององค์กร เช่น การผลิตหรือประกอบสินค้า งานทั่วไปที่ไม่จำเป็นต้องใช้การวางแผนหรือระดับการตัดสินใจมากนัก ข้อมูลหรือสารสนเทศในระดับนี้ จะถูกนำไปประมวลผลในระดับกลางและระดับสูงต่อไป
   

ประวัติของผู้เขียนบล็อก

ประวัติของผู้เขียนบล็อก


ชื่อ. นางสาวลลิตา   ชื่นกลิ่น  (มิว)


วันเกิด. 22   ธันวาคม  2539


อายุ. 15 ปี


เพศ.  หญิง